รู้ทันเกมการค้า

Trader ไม่ชำระค่าสินค้า ... ความเสี่ยงที่ยากจะหลีกเลี่ยง แต่สามารถจัดการได้

โดยทั่วไปผู้ประกอบการรายใหม่หรือต้องการเปิดตลาดใหม่ๆ ที่ยังไม่คุ้นเคย มักเลือกส่งออกสินค้าผ่านเทรดเดอร์ (Trader) ซึ่งรู้จักตลาดนั้นเป็นอย่างดีและมีประสบการณ์ในการเจาะตลาด ขณะเดียวกันผู้ส่งออกที่เน้นส่งออกสินค้าครั้งละมากๆ ก็นิยมส่งออกผ่านเทรดเดอร์เช่นกัน เพราะเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มีระบบหรือกลไกรองรับคำสั่งซื้อปริมาณมากๆ ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทรดเดอร์มีอำนาจในการต่อรองสูง ผู้ส่งออกจึงมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการเจรจาการค้า อาทิ ต้องยอมส่งมอบสินค้าให้ก่อนโดยยังไม่ได้รับค่าสินค้าบางส่วนล่วงหน้า และต้องให้เครดิตเทอมระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้น หากเทรดเดอร์ประสบปัญหาการบริหารจัดการจนกระทบต่อสภาพคล่องของกิจการ ผู้ส่งออกเองก็มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเงินค่าสินค้า ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับ “นายชอบค้า”

“นายชอบค้า” ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งมี Margin ไม่สูงนัก โดยเลือกส่งออกผ่านเทรดเดอร์ A ซึ่งเป็นเทรดเดอร์สินค้าเกษตรรายใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก และมีบริษัทในเครือกว่า 100 แห่ง เพราะมีศักยภาพสูงในการจัดการคำสั่งซื้อปริมาณมาก ประกอบกับที่ผ่านมาเทรดเดอร์ A มีฐานะการเงินเข้มแข็ง ทั้งในด้านรายรับและกำไร “นายชอบค้า” จึงมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้าเต็มจำนวนตามกำหนด แม้ว่าจะต้องให้เครดิตเทอมทั้งจำนวนยาวถึง 150 วัน ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มทำการค้ากัน “นายชอบค้า” ได้รับค่าสินค้าตรงตามกำหนดเสมอ กระทั่งในช่วง COVID-19 ระบาดรุนแรง เทรดเดอร์ A บริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันผิดพลาดจนเป็นเหตุให้ธุรกิจขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาลและขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง เทรดเดอร์ A จึงไม่สามารถชำระค่าสินค้าให้กับคู่ค้า รวมถึง “นายชอบค้า” ได้ตามเงื่อนไขที่ตกลง อย่างไรก็ตาม การที่“นายชอบค้า”บริหารความเสี่ยงจากการส่งออกด้วยการทำประกันการส่งออกกับ EXIM BANK ทำให้ “นายชอบค้า”สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดจากการที่เทรดเดอร์ A ไม่ชำระค่าสินค้าได้ เพราะ “นายชอบค้า” จะได้รับเงินชดเชยความเสียหายตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ที่ทำไว้

จากตัวอย่างของ “นายชอบค้า” สะท้อนให้เห็นว่าการตรวจสอบคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่จำเป็น และการทำประกันการส่งออกก็เป็นทางเลือกที่ดีในการบริหารความเสี่ยงจากการส่งออก ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัวอาจไม่ได้สะท้อนความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจเสมอไป ผู้ส่งออกจึงต้องเตรียมการรับมือด้วยความไม่ประมาท สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจบริการรับประกันการส่งออก สามารถติดต่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายส่งเสริมการรับประกันการส่งออกและการลงทุน EXIM BANK โทร. 0-2271-3700 ต่อ 3935-3944

Icon made by dimitry Miroliubov, and Freepik from www.flaticon.com

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • ข้อผิดพลาดจากคลังสินค้า...อีกชนวนเหตุคู่ค้าปฏิเสธการรับสินค้า

    จากบทความก่อนหน้าที่ได้กล่าวถึงกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารภายในของบริษัทผู้ส่งออก จนลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้าเพราะสีของสินค้าที่ส่งมอบไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อ กรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในหลายความผิดพลาดที่เก...

    calendar icon30.06.2021
  • มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เปิดจุดเสี่ยงการส่งออก

    มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เป็นหนึ่งในมาตรการที่คนทั่วโลกมีประสบการณ์ครั้งแรกร่วมกันในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา เนื่องจากแต่ละประเทศต้องการชะลอการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ขณะเดียวกันการใช้ม...

    calendar icon31.03.2021
Most Viewed
more icon
  • หา Supplier ใหม่อย่างไรไม่เพิ่มความเสี่ยงในภาวะวิกฤต COVID-19

    การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของธุรกิจในระดับมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป โดยหนึ่งในลักษณะของธุรกิจที่มักจะได้รับผลกระทบรุนแรงคือ ผู้ประกอบ...

    calendar icon30.04.2020
  • สถานะผู้ซื้อปลายทาง...ปัจจัยพึงระวังในการค้าขายกับ Trader

    ในการทำธุรกิจส่งออก มีความเป็นไปได้ที่ผู้ส่งออกอาจจะไม่ได้ติดต่อค้าขายกับผู้ซื้อโดยตรง แต่เป็นการซื้อขายผ่านตัวกลางหรือ Trader ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกมากระจายต่อให้กับผู้ซื้อปลายทางอีกทอดหนึ่ง ซึ...

    calendar icon08.03.2019
  • ทราบหรือไม่ ขายผ่าน L/C แม้ไม่ชวด…แต่บางครั้งได้เงินช้า

    ในบรรดาช่องทางการชำระเงินทั้งหมดในการทำค้าระหว่างประเทศ นอกจาก Advance Payment ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้ขาย/ผู้ส่งออกจะได้รับชำระเงินล่วงหน้าก่อนส่งสินค้าแล้ว Letter of Credit หรือ L/C ก็เป็นที่นิยมของผู้ขายเพราะทำให้มั่นใจได้ใ...

    calendar icon30.01.2021
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products