ประเทศเป้าหมาย Home ประเทศเป้าหมาย เลือกประเทศเป้าหมาย ; Cambodia ; Ethiopia ; India ; Kenya ; Lao People's Democratic Republic ; Mozambique ; Myanmar ; Vietnam ; Tanzania United Republic of ; Africa search ข่าวเศรษฐกิจประเทศเป้าหมาย more SCG Chemicals ตั้ง 3 บริษัทย่อยลุยธุรกิจต่างประเทศ-ลงทุน Startups บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด จัดตั้งบริษัท SCG Chemicals Shanghai Company Limited (SCG Chem Shanghai) ที่เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายโพลิเมอร์และส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าโดยตรง รวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการติดตามความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในจีน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย โดยเฉพาะสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Product) นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งบริษัท SENFI Ventures Company Limited (SENFI Ventures) ในไทย เพื่อลงทุนใน Startups แบบร่วมลงทุนกับคู่ธุรกิจ (Venture Capital) เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจเคมิคอลส์ ผ่านการเข้าถึงนวัตกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต และจัดตั้งบริษัท REPCO NEX (Vietnam) Company Limited (RNV) ที่เวียดนาม เพื่อให้บริการบำรุงรักษาเครื่องจักรแก่ Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) และขยายธุรกิจการให้บริการวิศวกรรมและซ่อมบำรุงไปยังประเทศเวียดนาม (www.bangkokbiznews.com, 13 ธ.ค. 2564) 14.12.2021 807 ก.พาณิชย์แจ้งมาตรการการค้าใหม่ปี 2565 จากประเทศคู่ค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปี 2565 หลายประเทศจะออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับสินค้า อาทิ -รถยนต์ เวียดนามออกระเบียบว่าด้วยการปล่อยมลพิษทางอากาศ ซึ่งกำหนดให้รถยนต์ที่ประกอบ ผลิต และนำเข้า ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานไอเสีย Euro 5 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 -เครื่องปรับอากาศ อินเดียกำหนดให้สินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าต้องได้รับการรับรองมาตรฐานและตีตราสัญลักษณ์จากสถาบันมาตรฐานอินเดีย (BIS) -สินค้าอาหาร จีนออกระเบียบ Decree 248 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 โดยกำหนดให้ผู้ผลิตอาหารจากต่างประเทศใน 18 กลุ่มสินค้า อาทิ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผักสดและผักอบแห้ง เครื่องปรุงรส และอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนส่งไปจีน ส่วนของประเทศที่ออกกฎระเบียบการค้าใหม่ในปี 2565 อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กำหนดให้สินค้าอาหารที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง และอาหารเหลว ต้องติดฉลากโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์แสดงข้อมูลไขมัน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาลทราย เกลือ และแคลอรี มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค. 2565 และ EU ออกกฎระเบียบควบคุมการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศและนำเข้า อาทิ ผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรอินทรีย์ต้องใช้วัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ 95% (คิดตามน้ำหนัก) ระบุแหล่งผลิตบนฉลาก และต้องใช้สารแต่งกลิ่นจากธรรมชาติเท่านั้น มีผลใช้บังคับ 1 ม.ค. 2565 13.12.2021 680 สคต. ณ นครเวียงจันทน์ เผยจีนยังอยู่ระหว่างเตรียมงานด้านการตรวจสอบสินค้าภายในด่านรถไฟโม่ฮ่าน สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว เปิดเผยถึงกรณีการเปิดใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาวว่า ล่าสุดจีนยังอยู่ระหว่างเตรียมงานด้านการตรวจสอบสินค้าต่างๆ ภายในด่านรถไฟโม่ฮ่าน (Mohan) อาทิ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ สัตว์น้ำแช่แข็ง ธัญพืช ผลไม้ ต้นกล้าไม้ ไม้ซุง และสินค้าปศุสัตว์และพืชอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม-เมษายน 2565 ทำให้ผู้ส่งออกไทยส่งออกสินค้าผ่านเส้นทางดังกล่าวได้ทันที โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่จะส่งไปจีนได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น (ประชาชาติธุรกิจ, 13-15 ธ.ค. 2564) 13.12.2021 585 Hot Issue ประเทศเป้าหมาย more ส่องทิศทางเศรษฐกิจและความเสี่ยง CLMV ในปี 2565 ประเด็นสำคัญ เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นสุดในกลุ่ม CLMV ขณะที่เมียนมาเป็นเพียงประเทศเดียวที่เศรษฐกิจคาดว่าจะหดตัวในปี 2565 จากสถานการณ์ COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองยังมีแนวโน้มยืดเยื้อ เมียนมาและ สปป.ลาว ที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนในระดับต่ำกว่าอัตราการฉีดวัคซีนโดยรวมของโลก ทำให้ COVID-19 ยังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจ ขณะที่กัมพูชามีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนมากที่สุดจากการกระจายวัคซีนภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาหนี้สาธารณะของ สปป.ลาว กดดันความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล ขณะที่หนี้สาธารณะของเมียนมาปรับขึ้นรวดเร็ว แต่หนี้สาธารณะของเมียนมาส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมในประเทศ ทำให้มีความยืดหยุ่นในการผ่อนชำระมากกว่าหนี้จากต่างประเทศ มูลค่าส่งออกของไทยไป CLMV ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวในทุกตลาด รวมถึงไปเมียนมา สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาทางการเมืองไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของไทย ขณะที่แนวโน้มส่งออกของไทยไป CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะยังขยายตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนวโน้มเศรษฐกิจประเทศ CLMV ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศ CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นสุดที่ระดับ 6.6% เนื่องจากคาดว่าจะได้แรงหนุนจากการขยายตัวในภาคการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ประกอบกับภาคส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก มีแนวโน้มเติบโตดีจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่เศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ 5.7% โดยได้อานิสงส์จากภาคส่งออก ประกอบกับการฉีดวัคซีนที่ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภค ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากกัมพูชาอนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วสามารถเดินทางเข้ากัมพูชาโดยไม่ต้องกักตัวตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 2564 สำหรับ สปป.ลาว คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.2% เข้าใกล้ระดับก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 เนื่องจากโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว ที่เตรียมเปิดให้บริการในเดือน ธ.ค. 2564 จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนจากจีน ขณะที่การส่งออกโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ายังมีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเตรียมเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงไทยเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2564-2565 ประกอบกับการที่จีนประกาศยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าของ สปป.ลาว จำนวน 97% ของสินค้าที่จีนนำเข้าทั้งหมดจาก สปป.ลาว ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2563 ทำให้การส่งออกสินค้าไปจีนซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 2 มีแนวโน้มขยายตัว อย่างไรก็ตาม เมียนมาเป็นเพียงประเทศเดียวที่คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวในปี 2565 ที่ 0.1% โดยวิกฤต COVID-19 และความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนเศรษฐกิจของเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน ไปจนถึงการบริโภคภายในประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน : เมียนมาเป็นประเทศที่น่ากังวลที่สุดจากอัตราการฉีดวัคซีนที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในอาเซียน สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนวัคซีนและบุคลากรทางการแพทย์ ไปจนถึงการที่ชาวเมียนมาบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นการต่อต้านรัฐบาล ส่งผลให้การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในเมียนมาอาจล่าช้าไปจนถึงปี 2568 ขณะที่ สปป.ลาว ยังคงมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำกว่าอัตราการฉีดวัคซีนของโลก ทำให้เศรษฐกิจยังคงเปราะบางหากเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม กัมพูชาเป็นประเทศที่การฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากที่สุด เนื่องจากการกระจายวัคซีนภายในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งรัฐบาลยังมีแต้มต่อจากการเป็นพันธมิตรของจีน ทำให้กัมพูชาได้รับวัคซีนบริจาคจากจีนมากถึง 27 ล้านโดส ปัญหาหนี้สาธารณะ : ความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาล สปป.ลาว อยู่ในสถานะที่น่ากังวล เนื่องจากมีหนี้สาธารณะสูงถึง 71% ต่อ GDP โดยในช่วงปี 2564-2568 รัฐบาลมีภาระหนี้ที่ต้องชำระ (ดอกเบี้ยและเงินกู้ที่ครบกำหนด) เฉลี่ยราว 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำราว 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้ภาครัฐยังทำได้ลำบากในปัจจุบันจากวิกฤต COVID-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาล สปป.ลาว มีการเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องผ่านการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง และล่าสุดได้ตั้งเป้ารักษาระดับหนี้สาธารณะและหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2566 ไม่ให้เกิน 64.5% และ 55.4% ตามลำดับ โดยจะชะลอการกู้เงินใหม่และอาจต้องจำหน่ายสินทรัพย์รัฐบาลบางส่วนออกไป ซึ่งแผนดังกล่าวคาดว่าจะทำให้การลงทุนภาครัฐชะลอตัว แต่จะส่งผลดีต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ระดับหนี้สาธารณะของเมียนมาในปี 2564 ปรับขึ้นรวดเร็วมาอยู่ที่ระดับ 58.4% ต่อ GDP จาก 34.2% ในปีก่อนหน้า เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลทางการคลังที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์วิกฤต COVID-19 ประกอบกับสถานการณ์เงินจ๊าตในปัจจุบันที่อ่อนค่าลงราว 25% จากช่วงก่อนรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ทำให้หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวถือว่ายังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมในประเทศราว 60% ทำให้มีความยืดหยุ่นในการผ่อนชำระมากกว่าหนี้จากต่างประเทศ ผลกระทบและแนวโน้มต่อการส่งออกของไทยไป CLMV มูลค่าส่งออกของไทยไป CLMV ในช่วง 10 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัวในทุกตลาด ไม่เว้นแม้แต่การส่งออกไปเมียนมาที่ขยายตัวถึง 13% แม้เมียนมาต้องเผชิญความวุ่นวายทางการเมือง แสดงให้เห็นว่าปัญหาทางการเมืองดังกล่าวไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของไทย อีกทั้งหลายประเทศโดยเฉพาะชาติตะวันตกมีแนวโน้มลดระดับความสัมพันธ์ด้านการค้าการลงทุนกับเมียนมาลงเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดการความวุ่นวายทางการเมืองดังกล่าว ยิ่งจะทำให้การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านทวีความสำคัญมากขึ้นสำหรับเมียนมา ทั้งนี้ แนวโน้มการส่งออกของไทยไป CLMV ในปี 2565 คาดว่าจะยังขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่อัตราขยายตัวของการส่งออกมีแนวโน้มชะลอลง เนื่องจากการส่งออกไป CLMV ที่เพิ่มขึ้นสูงในปี 2564 ถือเป็นการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติจากที่วิกฤต COVID-19 ทำให้การค้าในปี 2563 หดตัวรุนแรง Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด 03.12.2021 221 สหรัฐฯ เก็บ AD ยางล้อไทย ... ผลกระทบรุนแรงขึ้นในระยะถัดไป ประเด็นสำคัญ สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกยางล้ออันดับ 1 ของไทย (สัดส่วนเกือบ 50%) ประกาศผลการไต่สวน AD ขั้นสุดท้าย สำหรับยางล้อนำเข้าจากไทย (14.62 - 21.09%) เวียดนาม (0-22.27%) เกาหลีใต้ (14.72-27.05%) และไต้หวัน (20.04-101.84%) พร้อมกันนี้ สหรัฐฯ ยังคงเรียกเก็บ CVD กับยางล้อนำเข้าจากเวียดนามในอัตรา 6.23-7.89% เพื่อตอบโต้การบิดเบือนค่าเงินด่อง ในปี 2564 คาดว่ามูลค่าส่งออกยางล้อของไทยไปสหรัฐฯ จะยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเรียกเก็บ AD เนื่องจากตลาดรถยนต์สหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีจากฐานที่ต่ำมากในปี 2563 ในระยะถัดไป หากสหรัฐฯ ยังคงใช้มาตรการ AD ไทยมีแนวโน้มจะเสียส่วนแบ่งตลาดยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กในสหรัฐฯ บางส่วนให้แก่แคนาดา อินโดนีเซีย และเวียดนาม จากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ลดลง รวมถึงจะเผชิญคู่แข่งสำคัญรายใหม่ในตลาดยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จากการปรับกลยุทธ์การลงทุนของบริษัทยางล้อขนาดใหญ่เพื่อลดผลกระทบของ AD หมายเหตุ : Anti-dumping Duty (AD) = มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และ Countervailing Duty (CVD) = มาตรการตอบโต้การอุดหนุน -------------------------------------------------------------------------------------- สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บ AD ขั้นสุดท้ายกับยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็ก (Light Truck) ที่นำเข้าจากไทย เวียดนาม เกาหลีใต้ และไต้หวัน ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป โดยอัตรา AD ขั้นสุดท้ายนี้จะมีผลบังคับใช้ไปจนกว่าจะทบทวนอัตรา AD ครั้งต่อไป หรืออาจยกเลิกการจัดเก็บหากคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USITC) พิจารณาแล้วไม่พบการทุ่มตลาด ซึ่งจะประกาศผลพิจารณาในเดือนกรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ผลิตยางล้อเกือบทั้งหมดในประเทศไทยถูกเรียกเก็บ AD ในอัตรา 17.08% ยกเว้น บจก.ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) และ บจก.แอลแอลไอที (ประเทศไทย) ที่ถูกเก็บในอัตรา 14.62% และ 21.09% ตามลำดับ ยางล้อจากเวียดนามเป็นประเทศเดียวที่สหรัฐฯ เรียกเก็บ CVD โดยให้เหตุผลว่าธนาคารกลางของเวียดนามแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้เงินด่องอ่อนค่าเกินจริง ซึ่งมีผลให้เวียดนามได้เปรียบผู้ผลิตสหรัฐฯ ในการแข่งขันด้านราคา อย่างไรก็ตาม แม้เวียดนามถูกเรียกเก็บ CVD แต่เมื่อรวมกับ AD แล้ว ผู้ผลิตยางรายใหญ่ในเวียดนามอย่าง Sailun, Kumho, Bridgestone และ Yokohama (สัดส่วนรวมกว่า 90% ของการส่งออกยางล้อทั้งหมดของเวียดนาม) กลับถูกเรียกเก็บ AD และ CVD รวมกันเพียง 6.23-7.89% ซึ่งต่ำกว่า AD ของผู้ผลิตทุกรายที่อยู่ในไทย ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ดังกล่าวถูกเรียกเก็บ AD ที่ 0% ขณะที่สหรัฐฯ เรียกเก็บ AD จากผู้ผลิตรายกลางและรายเล็กในอัตรา 22.27% ยางล้อของเวียดนามจึงมีแต้มต่อในการแข่งขันกับคู่แข่งทั้งสามดังกล่าว และยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการขยายกำลังการผลิตในเวียดนามเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อการส่งออกของไทย มิติขอบเขตของผลกระทบ : ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากไทยส่งออกยางล้อไปสหรัฐฯ 2,711.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 หรือ 7.9% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกยางล้ออันดับ 1 ของไทยด้วยสัดส่วนราว 50% และเกือบครึ่งหนึ่งของยางล้อที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กซึ่งถูกเรียกเก็บ AD มิติด้านเวลา : ในระยะสั้น ผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ เก็บ AD ยางล้อของไทยยังมีจำกัด เพราะแม้การเก็บ AD จะทำให้ต้นทุนการนำเข้ายางล้อจากไทยแพงขึ้น แต่ราคายางล้อของไทย โดยเฉพาะยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่รวม AD แล้วยังต่ำกว่าคู่แข่งสำคัญ ทั้งเกาหลีใต้ เม็กซิโก แคนาดา และญี่ปุ่น ประกอบกับอานิสงส์จากตลาดรถยนต์โลก รวมถึงในสหรัฐฯ ในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากฐานที่ต่ำ ทำให้การส่งออกยางล้อในปี 2564 ยังมีโอกาสขยายตัว โดย IHS Markit คาดว่ายอดผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ จะขยายตัวถึง 24% จากปี 2563 อย่างไรก็ตาม ในระยะถัดไป การส่งออกยางล้อของไทยทั้งยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กมีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยางล้อบางรายเริ่มปรับกลยุทธ์หลังสหรัฐฯ ใช้มาตรการ AD ด้วยการขยายฐานการลงทุนไปประเทศที่ยังได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคาหลังรวมผลกระทบจากมาตรการแล้ว เช่น เวียดนาม มิติประเภทสินค้า : ยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (คิดเป็นมูลค่าส่งออกราว 60% ของยางล้อทั้งหมดที่ถูกเก็บ AD) ไทยจะเผชิญการแข่งขันรุนแรงขึ้นจากเวียดนาม และอาจมีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้น โดยผู้ผลิตยางล้อในเวียดนามมีแนวโน้มขยายกำลังการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ Kumho เตรียมลงทุนเกือบ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มกำลังการผลิตยางล้อในเวียดนาม เพื่อขยายการส่งออกไปสหรัฐฯ ขณะที่ Sailun ของจีนประกาศแผนลงทุนโรงงานยางล้อรถยนต์ส่วนบุคคลและรถบรรทุกขนาดเล็กในกัมพูชาแล้ว ด้วยเงินลงทุน 181 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Nankang Rubber Tire ของไต้หวัน ซึ่งถูกเก็บ AD ในอัตรา 101.84% มีแผนย้ายสายการผลิตยางล้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กซึ่งถูกเก็บ AD ไปยังโรงงานของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่น ยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็ก (คิดเป็นมูลค่าส่งออกราว 40% ของยางล้อทั้งหมดที่ถูกเก็บ AD) ไทยมีแนวโน้มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดยางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กในสหรัฐฯ ให้กับคู่แข่งสำคัญอย่างแคนาดา (ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ที่ 14.9% รองจากไทยที่ 27.3%) รวมถึงอินโดนีเซีย และเวียดนาม เนื่องจากราคายางล้อรถบรรทุกขนาดเล็กของไทยหลังรวม AD แล้วสูงกว่าประเทศคู่แข่งดังกล่าว ผลจากมาตรการ AD ต่อการลงทุนตั้งฐานผลิตยางล้อ การที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางล้อรายใหญ่ของโลกประกาศใช้มาตรการดังกล่าวกับหลายประเทศที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางล้อสำคัญ รวมถึงไทย ส่งผลต่อตลาดยางล้อโลก ตลอดจน Supply Chain ของอุตสาหกรรม โดยในส่วนของไทย ศักยภาพในการเป็นฐานการลงทุนผลิตยางล้อเพื่อส่งออกไปสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มลดลง อาจกระทบต่อแผนการลงทุนของผู้ผลิตยางล้อรายสำคัญในระยะต่อไป Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจเท่านั้น โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่มีบุคคลนำข้อมูลนี้ไปใช้ไม่ว่าโดยทางใด 09.06.2021 389 ทิศทาง CLMV หลัง COVID-19 ประเด็นสำคัญ เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นที่สุดใน CLMV ขณะที่รัฐประหารทำให้เศรษฐกิจเมียนมาซึ่งเคยขยายตัวสูงกลับถดถอยและกลายเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่ม นโยบายภาครัฐของกัมพูชาเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสขยายการลงทุนในระยะข้างหน้า พร้อมกับผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเสื้อผ้าสำเร็จรูป การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ใน สปป.ลาว ต้องอาศัยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังน้ำยังคงเป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่การลงทุนภาคการผลิตมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากโครงการรถไฟจีน - สปป.ลาว ความขัดแย้งในเมียนมาทำให้ธุรกิจต่างชาติต้องเน้นประคองธุรกิจ และการลงทุนใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวรุนแรง แม้วิกฤต COVID-19 จะยังไม่สิ้นสุดลง แต่การประเมินแนวโน้มตลาดยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการวางแผนธุรกิจ โดยตลาด CLMV ซึ่งเป็นตลาดการค้าการลงทุนสำคัญของไทย มีทิศทางเศรษฐกิจ นโยบายภาครัฐ และแนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรม ในระยะข้างหน้า ดังนี้ ทิศทางเศรษฐกิจของ CLMV 12.05.2021 493 บทความเกี่ยวกับประเทศเป้าหมาย more B2B E-Commerce ... อีกหนึ่งประตูเจาะตลาดออนไลน์ของเวียดนาม 05.08.2021 289 เคล็ด (ไม่) ลับ ... เจาะตลาด E-Commerce ใน สปป.ลาว 05.07.2021 320 มาตรการลงโทษกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร ในช่วงกว่า 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมาเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยหนึ่งในมาตรการที่ชาติตะวันตกใช้ในการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา คือ การใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions) กับบุคคลในกองทัพเมียนมาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศหรือลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศ จำเป็นต้องเข้าใจกลไกของมาตรการดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้มีเฉพาะกรณีของเมียนมาเท่านั้นที่ถูกใช้มาตรการลงโทษ ปัจจุบันประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มีการใช้มาตรการลงโทษกับหลายกลุ่มบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศ ซึ่งมาตรการดังกล่าวก่อให้เกิดอุปสรรคหลากหลายด้าน เช่น การเงิน โลจิสติกส์ และการประกัน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้ มาตรการลงโทษ (Sanctions) คืออะไร มาตรการลงโทษเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลของประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศใช้กับบุคคล นิติบุคคล หรือประเทศ ที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่เป็นภัยต่อสันติภาพ ความมั่นคง หรือสิทธิมนุษยชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมดังกล่าว โดยตัวอย่างมาตรการลงโทษที่พบเห็นได้บ่อย เช่น การห้ามเดินทางเข้าประเทศ การระงับการออกวีซ่า การควบคุมทรัพย์สิน การจำกัดการเข้าถึงธุรกรรมทางการเงิน การห้ามทำการค้ากับบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศที่โดนมาตรการลงโทษ เป็นต้น ใครเป็นผู้ออกมาตรการลงโทษที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดมาตรการลงโทษ ได้แก่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นมหาอำนาจที่เมื่อออกมาตรการลงโทษแล้วจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐและยูโรเป็นสกุลเงินสากลที่ใช้ในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ซึ่งมีสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติ (Office of Foreign Assets Control : OFAC) เป็นหน่วยงานหลักของสหรัฐฯ ที่ออกมาตรการลงโทษ ทั้งนี้ มาตรการลงโทษที่ออกโดย OFAC มีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เนื่องจากธุรกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ต้องปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศที่ส่วนใหญ่ค้าขายกันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐและต้องมีสถาบันการเงินของสหรัฐฯ เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม องค์การสหประชาชาติ (UN) มาตรการลงโทษที่ออกโดย UN ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เนื่องจากประเทศสมาชิก UN ซึ่งมีถึง 193 ประเทศทั่วโลก ควรดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ตัวอย่างผลกระทบต่อภาคธุรกิจ (กรณีสหรัฐฯ ออกมาตรการลงโทษกับประเทศ A) ตัวอย่างกรณีสหรัฐฯ ใช้มาตรการลงโทษขั้นสูงสุดกับประเทศ A จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ดังนี้ กรณีโดยตรง : กระทบบุคคล/นิติบุคคลในสหรัฐฯ และในประเทศ A : มาตรการลงโทษมีผลบังคับใช้โดยตรงกับบุคคล/นิติบุคคลของสหรัฐฯ ส่งผลให้บุคคล/นิติบุคคลในสหรัฐฯ ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล/นิติบุคคลในประเทศ A ดังนั้น หากผู้ประกอบการไทยมีการทำธุรกิจในสหรัฐฯ ก็จะถูกบังคับใช้มาตรการดังกล่าว เช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในประเทศ A ก็จะถูกจำกัดการทำการค้ากับสหรัฐฯ ตลอดจนไม่สามารถใช้บริการต่างๆ ซึ่งรวมถึงบริการจากสถาบันการเงินของสหรัฐฯ กรณีทางอ้อม : กระทบต่อประเทศอื่นเมื่อทำการค้าระหว่างประเทศ : แม้ไทยจะไม่ได้ใช้มาตรการลงโทษกับประเทศ A โดยตรง แต่การทำการค้าระหว่างไทยกับประเทศ A ก็มักประสบอุปสรรคจากการใช้มาตรการลงโทษของสหรัฐฯ ดังนี้ กรณีมาตรการลงโทษกับเมียนมา … ผลกระทบยังมีจำกัด กรณีของเมียนมา สหรัฐฯ ไม่ได้ใช้มาตรการลงโทษในระดับประเทศ แต่เป็นการใช้กับบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาและการรัฐประหารเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดและผลกระทบ มีดังนี้ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามาตรการลงโทษสามารถกลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ซึ่งโดยปกติสถาบันการเงินไทยจะมีขั้นตอนตรวจสอบรายชื่อบุคคล/นิติบุคคล/ประเทศที่ถูกใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions List) ทุกครั้งที่มีธุรกรรมระหว่างประเทศอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเองก็ควรเข้าใจและมีการตรวจสอบคู่ค้าด้วยตนเองเพื่อป้องกันอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำการค้า 20.09.2021 189 link อื่นๆ more Financial Products more ดู Links ทั้งหมด