InterFin
วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบกับทั้งวิถีชีวิตของผู้บริโภคทั่วโลกและต่อเนื่องมายังภาคธุรกิจ โดยบางธุรกิจ เช่น ธุรกิจดิจิทัล และบริการขนส่งสินค้า แม้จะได้อานิสงส์จนธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ภาคธุรกิจส่วนใหญ่กลับต้องเผชิญกับแรงกดดันจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง และส่งผลให้ธุรกิจส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจลงทุนทั้งในประเทศ ไปจนถึงการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากปัจจัยสนับสนุนด้านความก้าวหน้าของวัคซีน COVID-19 ทำให้ภาคธุรกิจเริ่มกลับมองโอกาสในการลงทุน ซึ่งการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition : M&A) เป็นหนึ่งในทางเลือกของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เห็นโอกาสถึง
วัฏจักรขาขึ้นรอบใหม่ของเศรษฐกิจ สอดคล้องไปกับข้อมูลการทำ M&A ของโลกในปี 2563 ซึ่งวิกฤต COVID-19 ส่งผลให้มูลค่า M&A ของโลกในช่วงครึ่งแรกของปีหดตัวถึง 40% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี พบว่ามูลค่า M&A ของโลกกลับมาเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่าการทำ M&A สามารถตอบสนองความต้องการลงทุนของภาคธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มการทำ M&A จะยังเป็นเทรนด์สำคัญของการลงทุนต่อเนื่องในปี 2564
M&A ตอบโจทย์การรุกธุรกิจในต่างประเทศยุคปัจจุบัน
การทำ M&A ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นิยมสำหรับธุรกิจที่วางแผนในการเติบโตระยะยาว และมักถูกใช้เป็นกลยุทธ์ในการรุกตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการทำ M&A ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ อาทิ
กลยุทธ์ M&A … เครื่องมือจำเป็นของผู้ประกอบการทุกขนาด
วิกฤต COVID-19 อาจเป็นเพียงสัญญาณเตือนของการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามมาอีกในอนาคต การทำความคุ้นเคยกับ M&A ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาดีลเพื่อเข้าซื้อธุรกิจในต้นทุนที่ต่ำ การรุกขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ การเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ไปจนถึงการแก้ปัญหาทางการเงินเพื่อพยุงกิจการ จะช่วยให้บริษัทมีความพร้อมรับมือกับความท้าทาย และช่วยเพิ่มแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
ที่เกี่ยวข้อง