ข่าวเศรษฐกิจ
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ระบุว่า ภาพรวมธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปี 2561 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 1.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่าราว 1.5 แสนล้านบาท เป็นสัญญานให้เห็นว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังมีโอกาสและช่องทางในการขยายตัว โดยเฉพาะการชูจุดขายทางด้านการแพทย์เฉพาะทาง และความเชี่ยวชาญเฉพาะโรค ทั้งนี้ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งรายใหญ่และรายเล็กต่างทุ่มงบประมาณลงทุน ทั้งเพื่อพัฒนาบุคลากร ซื้อเครื่องมือแพทย์และเพิ่มเทคโนโลยีในการรักษา ตลอดจนก่อสร้างศูนย์โรคเฉพาะทาง ดังนี้
- โรงพยาบาลพญาไท 2 ใช้งบลงทุนลงทุนกว่า 100 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงสถานที่ในการรับบริการผู้ป่วย และการอบรมพัฒนาบุคคลากร การซื้อเครื่องมือแพทย์และเพิ่มเทคโนโลยีในการรักษาเพื่อพัฒนาให้โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดของภูมิภาคเอเชีย ตอบรับน
- โรงพยาบาลธนบุรี 2 มีแผนขยายธุรกิจในไตรมาส 4 ปี 2561 ด้วยงบลงทุนราว 500 ล้านบาท ทั้งการเพิ่มห้องตรวจผู้ป่วยนอก ห้อง ICU และ ห้องพัก VIP รวมทั้งเพิ่มโปรแกรมการตรวจสุขภาพโรคเฉพาะทางราคาประหยัด นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การเปิดศูนย์หัวใจใ
- โรงพยาบาลบางมด มีแผนพัฒนาศูนย์ศัลยกรรมความงามและศูนย์สุขภาพชะลอวัย ด้วยงบลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท รวมทั้งการรีโนเวตศูนย์ศัลยกรรมดึงหน้าตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ซึ่งใช้งบลงทุนกว่า 50 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้บริการ
- โรงพยาบาลพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ มีแผนที่จะขยายโรงพยาบาลในเครือให้เพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะขยายโรงพยาบาลในเครือข่ายเป็น 10 แห่ง และเพิ่มเป็น 20 แห่ง ภายในปี 2565 ด้วยงบลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงพยาบาลมีเปิดให้บริการ 5 แห่ง ในจ. นครสวรรค์ 2 โรงพยาบาล จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.สมุทรปราการ ขณะที่โรงพยาบาลใน จ.อุทัยธานี และจ.อุตรดิตถ์ จะเปิดดำเนินการได้ในไตรมาสแรกของปี 2562
- โรงพยาบาลพระราม 9 ใช้งบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท สร้างตึกใหม่ 16 ชั้น บนพื้นที่ 3 ไร่ ขนาด 60 เตียง เพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นทั้งผู้ป่วยในประเทศและต่างประเทศ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2562 นอกจากนี้ ยังมีแผนปรับปรุงและขยายอาคารจำนวน 3 ชั้น
(ฐานเศรษฐกิจ, 24-27 มิ.ย. 2561)