ข่าวเศรษฐกิจ
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินปัจจัยที่ฉุดการฟื้นตัวของโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม ดังนี้
1) การขอค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัยค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากบริษัทประกันภัยมีเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายไม่เพียงพอ และบริษัทประกันภัยบางแห่งยังไม่สามารถตกลงค่าชดเชยกับผู้ประกอบการได้
2) การอนุมัติสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างล่าช้า โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพียง 8,730 ล้านบาท จากเป้าหมายสินเชื่อ 145,730 ล้านบาท หรือราว 6% ของเป้าหมาย ขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อนุมัติวงเงินค้ำประกันเพียง 6,111 ล้านบาท หรือราว 5% ของเป้าหมาย
3) การนำเข้าเครื่องจักรใหม่ล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนการขอลดหย่อนภาษีนำเข้ายังขาดระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน โดยในเดือนธันวาคม 2554 มูลค่านำเข้าเครื่องจักรขยายตัวเพียง 13% เทียบกับมูลค่านำเข้าเครื่องจักรไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัว 18% ทั้งที่หลังเหตุการณ์น้ำท่วมน่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรเป็นจำนวนมาก
4) การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานบางส่วนย้ายกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาของตนเอง รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งย้ายที่ตั้งไปนอกนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานบางส่วนไม่ได้ย้ายตามไปด้วย
(กรุงเทพธุรกิจ, 12 มี.ค. 2555)
1) การขอค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัยค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากบริษัทประกันภัยมีเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายไม่เพียงพอ และบริษัทประกันภัยบางแห่งยังไม่สามารถตกลงค่าชดเชยกับผู้ประกอบการได้
2) การอนุมัติสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วมค่อนข้างล่าช้า โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอนุมัติสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเพียง 8,730 ล้านบาท จากเป้าหมายสินเชื่อ 145,730 ล้านบาท หรือราว 6% ของเป้าหมาย ขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อนุมัติวงเงินค้ำประกันเพียง 6,111 ล้านบาท หรือราว 5% ของเป้าหมาย
3) การนำเข้าเครื่องจักรใหม่ล่าช้า เนื่องจากขั้นตอนการขอลดหย่อนภาษีนำเข้ายังขาดระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจน โดยในเดือนธันวาคม 2554 มูลค่านำเข้าเครื่องจักรขยายตัวเพียง 13% เทียบกับมูลค่านำเข้าเครื่องจักรไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัว 18% ทั้งที่หลังเหตุการณ์น้ำท่วมน่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรเป็นจำนวนมาก
4) การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานบางส่วนย้ายกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาของตนเอง รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งย้ายที่ตั้งไปนอกนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานบางส่วนไม่ได้ย้ายตามไปด้วย
(กรุงเทพธุรกิจ, 12 มี.ค. 2555)