เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ

เมียนมาเปิดธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกรับการลงทุนต่างชาติ

ผ่านมากว่า 1 ปีแล้วที่เมียนมาปรับปรุงกฎหมายการลงทุนในธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกเพื่อเอื้อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้อย่างเสรีมากขึ้น กฎหมายดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในเมียนมา เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้าไปทำธุรกิจลักษณะ Trading ได้ง่ายขึ้น ทำให้ความจำเป็นในการพึ่งพาตัวกลางนำเข้าสินค้าชาวเมียนมาลดลง ประกอบกับกระแสการเข้ามาลงทุนร้านค้าส่ง/ค้าปลีกขนาดใหญ่อย่างซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ต จากผู้ประกอบการต่างชาติร้อนแรงขึ้น เพราะต่างก็จับจ้องโอกาสนี้อยู่แล้วระยะหนึ่ง ดังนั้น กฎหมายค้าส่ง/ค้าปลีก จึงเป็นกฎหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจเข้าไปทำธุรกิจในเมียนมาควรทำความเข้าใจเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวได้อย่างเต็มที่

 

กฎหมายค้าส่ง/ค้าปลีก ฉบับใหม่

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ออก Directive 25/2018 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 โดยกฎหมายดังกล่าวเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกให้กับบริษัทต่างชาติและบริษัทร่วมทุน (Joint Venture : JV) โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

  • เงินลงทุนขั้นต่ำ

ทั้งนี้ เงินลงทุนขั้นต่ำดังกล่าวเป็นเงินลงทุนสำหรับใช้ซื้อสินค้าหรือนำเข้าสินค้าเพื่อมาจำหน่าย ไม่รวมเงินลงทุนสำหรับค่าเช่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการบริหาร โดยสามารถแบ่งการโอนเงินลงทุนดังกล่าวเข้ามาในเมียนมา ดังนี้ (1) สัดส่วน 50% ในปีแรกของการลงทุน (2) 30% ในปีที่สอง และ (3) ส่วนที่เหลืออีก 20% ในปีที่สาม

  • รายการสินค้าที่อยู่ภายใต้กฎหมายค้าส่ง/ค้าปลีก : สินค้าที่อนุญาตให้จำหน่ายได้ในธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายดังกล่าว ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าในครัวเรือน อุปกรณ์เครื่องครัว เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ อาหารสัตว์และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เครื่องเขียน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์สื่อสาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์พืชและวัตถุดิบทางการเกษตร เครื่องจักรกลการเกษตร เครื่องจักรกล จักรยาน จักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ของชำร่วย งานศิลปะและอุปกรณ์ดนตรี

  • การจดทะเบียน : ผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกในเมียนมา ต้องยื่นขอจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา โดยต้องมีเอกสารสำคัญ ดังนี้

- ใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท

- สำเนาเอกสารรับรองการอนุมัติการลงทุนจาก Myanmar Investment Commission (MIC)

- จดหมายแนะนำจากหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง

- รายการสินค้าที่จะทำการค้า

 

- แผนการดำเนินธุรกิจระยะ 5 ปี

 

- หลักฐานการโอนเงินลงทุนขั้นต่ำเข้าประเทศ (ยื่นภายใน 30 วัน หลังจากการยื่นจดทะเบียนธุรกิจ)

ทั้งนี้ ใบรับรองการจดทะเบียนธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกจากกระทรวงพาณิชย์มีอายุ 5 ปี ค่าจดทะเบียนหรือค่าต่อทะเบียนอยู่ที่ครั้งละ 50,000 จ๊าต

  • ข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ : กฎหมายนี้ยังจำกัดไม่ให้บริษัทที่จดทะเบียนธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกดำเนินการขายสินค้าแบบ Door-to-Door และสงวนธุรกิจค้าปลีกแบบมินิมาร์ทและร้านสะดวกซื้อขนาดพื้นที่เล็กกว่า 929 ตารางเมตร ไว้ให้กับบริษัทเมียนมาเท่านั้น

โอกาสของธุรกิจค้าส่ง

การออกกฎหมายค้าส่ง/ค้าปลีกดังกล่าวเอื้อต่อธุรกิจส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งเดิมต้องพึ่งการส่งออกผ่านผู้นำเข้าหรือ Distributor เมียนมา เพื่อกระจายสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ทั่วประเทศ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างชาติประกอบกิจการ Trading ในเมียนมา ดังนั้น ภายใต้กฎหมายใหม่ที่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติทำธุรกิจค้าส่ง ผู้ประกอบการไทยสามารถเปิดบริษัทในรูปแบบบริษัทต่างชาติ 100% หรือบริษัทร่วมทุน (JV) และจดทะเบียนธุรกิจค้าส่งในเมียนมา โดยทางการเมียนมาจะตรวจสอบว่ามีการตั้งคลังสินค้าจริง (ไม่กำหนดขนาดพื้นที่ขั้นต่ำ) ซึ่งบริษัทดังกล่าวสามารถนำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อไปจัดจำหน่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายได้โดยตรง และจะช่วยลดต้นทุนที่เคยต้องจ่ายให้กับตัวกลางนำเข้าสินค้า รวมถึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าได้ดียิ่งขึ้น

โอกาสของธุรกิจค้าปลีก

เมียนมายังคงสงวนสิทธิ์การตั้งร้านมินิมาร์ทและร้านสะดวกซื้อไว้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นเท่านั้น  ดังนั้น โอกาสของธุรกิจค้าปลีกของไทยในระยะแรกจึงเป็นการลงทุนธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ในลักษณะไฮเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงห้างสรรพสินค้า และห้างค้าส่ง/ค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง ส่วนผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็กต้องอาศัยลงทุนในพื้นที่เช่าของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่อีกทอดหนึ่ง ซึ่งคาดว่าพื้นที่ลักษณะดังกล่าวจะมีเพิ่มขึ้นมากในอนาคต

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • มาตรการลงโทษกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศอย่างไร

    ในช่วงกว่า 1-2 เดือนที่ผ่านมา สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเมียนมาเป็นประเด็นร้อนแรงที่ทั่วโลกให้ความสนใจ โดยหนึ่งในมาตรการที่ชาติตะวันตกใช้ในการกดดันรัฐบาลทหารเมียนมา คือ การใช้มาตรการลงโทษ (Sanctions) กับบุคคลในกอง...

    calendar icon01.04.2021
  • มาตรการ COVID-19 ที่ควรรู้สำหรับผู้ประกอบการในเมียนมา

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมานับว่ายังอยู่ในวงจำกัด โดยปัจจุบัน (ณ วันที่ 10 เมษายน 2563) จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในเมียนมามีอยู่เพียง 27 ราย ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำห...

    calendar icon30.04.2020
Most Viewed
more icon
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างแรงงานในเวียดนาม

    ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คือ การเป็นประเทศที่มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ทำให้มีแรงงานจำนวนมากที่พร้อมทำงาน ประกอบกับมีค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ เวียดนา...

    calendar icon01.04.2019
  • เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว

    เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...

    calendar icon01.07.2019
  • Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว

    การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...

    calendar icon01.04.2019
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products