ข่าวเศรษฐกิจ

TEPCO คาดแก้ปัญหาวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ภายใน 6-9 เดือน

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2554 Tokyo Electric Power Co. (TEPCO) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ประกาศจะสามารถควบคุมการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวได้ภายใน 3 เดือน และจะลดความร้อนภายในเตาปฏิกรณ์ทั้ง 6 เตาจนสามารถปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ภายใน 6-9 เดือน นอกจากนี้ บริษัท Toshiba ซึ่งเป็นบริษัทที่ช่วยสร้างเตาปฏิกรณ์ให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าว ร่วมกับบริษัทในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ 4 แห่งของสหรัฐฯ เตรียมร่างแผนทำลายเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวเสนอต่อ TEPCO และกระทรวงอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี ขณะที่ TEPCO เตรียมเสนอเงินชดเชยความเสียหายเบื้องต้นให้แก่ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ครอบครัวละ 1 ล้านเยน ทั้งนี้ วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ดังกล่าวส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม 2554 ลดลงถึง 50.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการลดลงมากสุดเป็นประวัติการณ์ (ผู้จัดการออนไลน์, โพสต์ทูเดย์, 15-18 เม.ย. 2554)
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
Tag
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products