ข่าวเศรษฐกิจ

บอร์ดบีโอไออนุมัติมาตรการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติมาตรการเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นการลงทุนในปี 2562 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับคำขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 จนถึงสิ้นปี 2562 โดยผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบสูงต่อเศรษฐกิจและเป็นกิจการในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง หรืออยู่ในอุตสาหกรรมฐานความรู้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจะต้องเป็นโครงการที่มีเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ในทุกประเภทกิจการ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 3 ปี ยกเว้นกิจการที่ไม่มีที่ตั้งสถานประกอบการ เช่น กิจการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางเรือ นอกเหนือจากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปีขึ้นไปตามเกณฑ์สิทธิปกติแต่ไม่เกิน 8 ปี และตั้งสถานประกอบการได้ในทุกพื้นที่ยกเว้นกรุงเทพฯ นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอยังได้เห็นชอบมาตรการต่างๆ ดังนี้ มาตรการส่งเสริมการลงทุนกิจการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สอดคล้องกับการเป็นประเทศไทย 4.0 แบ่งเป็น 1) กิจการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ มีเงื่อนไขสำคัญ คือ จะต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม (Smart Environment) และจะต้องลงทุนจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อีกอย่างน้อย 1 ด้าน จาก 6 ด้าน (Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy) และจะต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นข้างมาก หากผู้ลงทุนสามารถจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะครบทั้ง 7 ด้านข้างต้น จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (จำกัดวงเงิน) แต่หากดำเนินการไม่ครบทั้ง 7 ด้าน จะให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี ในกรณีที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี ภายหลังการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง 2) กิจการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญ คือ โครงการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยหากเป็นการพัฒนาระบบให้กับเมืองอัจฉริยะ หรือนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ผู้พัฒนาระบบดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีเช่นกัน และหากตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี ภายหลังการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง และ 3) กิจการพัฒนานิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะภายในพื้นที่ครบทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy และ Smart Environment โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (จำกัดวงเงิน) และจะต้องมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้นหลัก มาตรการส่งเสริการลงทุนเศรษฐกิจฐานรากที่ปรับปรุงใหม่ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้กับคำขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2562 ถึงสิ้นปี 2563 โดยเน้นให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงเข้าไปสนับสนุนยกระดับขีดความสามารถขององค์กรท้องถิ่น เข่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน โดยผู้ประกอบการที่เข้าไปสนับสนุนจะต้องดำเนินการตามแผนความร่วมมือกับท้องถิ่นอย่างชัดเจน และมีเงินลงทุนขั้นต่ำในการสนับสนุนแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และหากสนับสนุนหลายรายในโครงการเดียวกัน จะต้องสนับสนุนไม่น้อยกว่า 2 แสนบาทต่อราย มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและดิจิทัล โดยปรับปรุงเงื่อนไขประเภทกิจการศูนย์บ่มเพาะด้านนวัตกรรม (Innovation Incubation Center) ในหลายประเด็น เช่น เพิ่มพื้นที่ขั้นต่ำจากเดิม 300 ตารางเมตร เป็น 1,000 ตารางเมตร และต้องมีแผนการบ่มเพาะเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้มีการพัฒนาและบ่มเพาะผู้ประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม มาตรการส่งเสริมประเภทกิจการ Maker Space หรือ Fabrication Laboratory เพื่อให้บริการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตนเอง โดยจัดให้มีพื้นที่สำหรับเป็นห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้ในงานสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบสื่อสารหลักแบบใยแก้วความเร็วสูง ระบบไฟฟ้าสำรองจ่ายแบบต่อเนื่อง กิจการประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร มาตรการส่งเสริมประเภทกิจการ Co-Working Space เพื่อเสริมภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงกับนักพัฒนา Startup โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องจัดให้มีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 2,000 ตารางเมตร และมีเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนใาาเวียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร มาตรการสนับสนุนให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของตลาดทุน โดยบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 100% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) โดยมาตรการนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 (www.thansettakij.com, 19 พ.ย. 2561 และ กรุงเทพธุรกิจ, 20 พ.ย.2561)
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products