ข่าวเศรษฐกิจ

เหล็กไทยดิ้นสู้ ม.232 หลังสหรัฐฯ เปิดช่องขอยกเว้นรายสินค้าและรายประเทศได้

การประกาศใช้มาตรา 232 แห่งกฎหมาย Trade Expansion Act of 1962 ของประธานาธิบดีทรัมป์เพื่อไต่สวนการนำเข้าสินค้าเหล็กที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของสหรัฐ (Nation Security) และนำมาซึ่งการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเหล็กในอัตรา 25% และสินค้าอะลูมิเนียม 10% จากทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยได้ประมาณการผลกระทบทางตรงของไทยว่าจะสูญเสียการส่งออกสินค้าเหล็กไปยังตลาดสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 10,479 ล้านบาท จากปริมาณเหล็กส่งออก 383,496 ตัน และจากข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กของสถาบันเหล็กฯ บ่งชี้ว่า มีสินค้าเหล็ก 4 รายการที่ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมาก คือ 1) ท่อเหล็กเชื่อมมีตะเข็บ ปี 2560 ส่งออกไปสหรัฐฯ 108,838 ตัน ซึ่งอาจจะไม่มากหากเทียบกับปริมาณการนำเข้าท่อเหล็กจากทั่วโลกของสหรัฐฯ แต่ปริมาณส่งออกท่อเหล็กของไทยกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่บริษัท โดยหนึ่งในนั้นคือ บริษัท สหไทยสตีลไพพ์ โดยสินค้ากว่าครึ่งหนึ่งส่งออกไปสหรัฐฯ จึงนับว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก 2) เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ปี 2560 มีการส่งออกไปสหรัฐฯ 90,429 ตัน โดยผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ บริษัท Posco-TCS หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตเหล็กเกาหลีใต้ที่เข้ามาลงทุนในไทย 3) เหล็กแผ่นรีดเย็น ปี 2560 ส่งออกไปสหรัฐฯ 85,445 ตัน บริษัทผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ บริษัท Starcore 4) ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ปี 2560 ส่งออกไปสหรัฐฯ 86,274 ตัน ผู้ส่งออกรายใหญ่ในกลุ่มนี้เป็นบริษัทจีนที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ภายใต้คำสั่งของประธานาธิบดีทรัมป์ได้เปิดโอกาสให้ขอยกเว้นการถูกใช้มาตรการเก็บภาษีได้ใน 2 กรณีคือ การขอยกเว้นเป็นรายสินค้า (Product Exclusions) และการขอ "ยกเว้น" เป็นรายประเทศ (Country Exclusions) โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ (Department of Commerce หรือ DOC) ได้ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการขอยกเว้นเป็นรายสินค้าออกมาแล้วด้วยการกำหนดให้ 1) บุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในสหรัฐฯ ที่ใช้เหล็กหรืออะลูมิเนียมในธุรกิจของตน หรือ 2) ผู้จัดหา เหล็ก/อะลูมิเนียมให้กับผู้ใช้ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการยื่นขอยกเว้นเป็นรายสินค้า โดยการขอยกเว้นเป็นรายสินค้า (Product Exclusions) ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ปรากฏบริษัทผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ส่งออกในกลุ่มท่อเหล็กมีตะเข็บหรือท่อเชื่อมตะเข็บได้ดำเนินการติดต่อกับผู้นำเข้าสหรัฐฯ ยื่นขอยกเว้นไปแล้วจากเหตุผล 2 ประการด้วยกัน คือ ท่อเหล็กเป็นสินค้าที่ไม่มีการผลิตหรือผลิตได้ไม่เพียงพอในสหรัฐฯ และคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ในสหรัฐฯ ไม่ดีเท่ากับสินค้าที่นำเข้าได้ ส่วนการเปิดให้ขอยกเว้นเป็นรายประเทศ (Country Exclusions) นั้น ทางสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) จะเป็นผู้พิจารณาออกหลักเกณฑ์ แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า (ประชาชาติธุรกิจ, 26-28 มี.ค. 2561)
Related
more icon
  • TOA เดินหน้าลงทุนรับเศรษฐกิจฟื้นในปี 2565

    บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ผู้ผลิตสีทาอาคารรายใหญ่ เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2564 บริษัทฯ มียอดจำหน่ายขยายตัว 6% สวนทางกับภาพรวมตลาดที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้แรงห...

    calendar icon03.12.2021
  • ส.อ.ท. คาดความต้องการใช้เหล็กในประเทศจะขยายตัว 5-6% ในปี 2565

    กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่าความต้องการใช้เหล็กของโลกในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็นราว 1,600 ล้านตัน ขณะที่กำลังการผลิตเหล็กของโลกมีปริมาณปีละ 2,400 ล้านตัน โดยจีนที่ลดกำลังการผลิตลงหลังจากว...

    calendar icon26.11.2021
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products