ข่าวเศรษฐกิจ

BOI เตรียมปรับโครงสร้างการส่งเสริมการลงทุนเปิดประตูรับทุนโลก

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า จากแนวคิดการปรับโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ล่าสุดคณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจได้ประชุมร่วมกับ BOI พร้อมสรุปสาระสำคัญของการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1)ทิศทางการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนให้ชัดเจน ด้วยการกำหนดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม/บริการที่มีผลกระทบสูง (High Impact) ต่อประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรม/บริการนั้นๆ ต้องมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก ด้วยการริเริ่มโครงการนำร่อง (Flagship Project) ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จขึ้นมาก่อนในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเข้มแข็ง อาทิ นวัตกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สำหรับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในอนาคต ควรกำหนดเครื่องมือชี้วัดในลักษณะของผลสำเร็จของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว ไม่ใช่วัดจากข้อมูลโครงการ (Input) อาทิ มูลค่าโครงการ-มูลค่าส่งออก-การจ้างแรงงาน แบบที่ BOI ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งอาจใช้ตัวอย่างของ BOI เกาหลีใต้ที่ตั้งเป้าหมายว่า หากจะส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัทใด บริษัทนั้นจะต้องกำหนดเลยว่าจะขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้นให้ติดอันดับโลกภายในกี่ปี หากทำไม่ได้ก็จะลดสิทธิประโยชน์ลง นอกจากนี้ รูปแบบการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ควรเป็นแบบ “รายบริษัท” หรือ “Company Based” แทนแบบเดิมที่เป็น “Project Based” ซึ่งในทางปฏิบัติก่อให้เกิดความยุ่งยาก โดยเฉพาะในขั้นตอนการใช้สิทธิประโยชน์ของนักลงทุนและการติดตามผลการตรวจสอบโครงการ 2)บทบาทของ BOI ควรเป็นลักษณะ “บทบาทนำ” ในด้านการลงทุนในประเทศ ด้วยการเป็นศูนย์อำนวยความสะดวกแบบเบ็ดเสร็จให้กับนักลงทุนอย่างแท้จริง โดยจะทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนของราชการและแก้ปัญหาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดอุปสรรคด้านการลงทุน นอกจากนี้ BOI จะตัองพิจารณาสิ่งที่นักลงทุนต้องการและต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนแบบองค์รวม (Whole Package) ไม่ใช่เน้นเฉพาะเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีมากขึ้น (ฐานเศรษฐกิจ, 29 ก.ย.-1 ต.ค. 2559)
Related
more icon
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 2564 ฟื้นยกแผง

    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มขึ้นจาก 82.1 ในเดือน ต.ค. 2564 เป็น 85.4 ในเดือน พ.ย. 2564 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและสูงสุดในรอบ 8 เดือนนับแต่ ...

    calendar icon08.12.2021
  • GPC เข้าทำสัญญาร่วมทุนท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3

    การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ลงนามสัญญาร่วมลงทุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) กับบริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (GPC) ผู้ชนะการประมูลโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ซึ...

    calendar icon26.11.2021
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products