ข่าวเศรษฐกิจ

5 บริษัทนำร่องปรับปรุงระบบการผลิตภายใต้แผนคลัสเตอร์หุ่นยนต์

คณะอนุกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบคลัสเตอร์เปิดเผยความคืบหน้าในการเร่งผลักดันคลัสเตอร์หุ่นยนต์ โดยมี 5 บริษัทนำร่องในการปรับปรุงระบบการผลิต ได้แก่ - เครือเอสซีจี เตรียมลงทุนระบบจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ - บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เตรียมลงทุนระบบจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ - บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เตรียมลงทุนเครื่องจักรทดแทนแรงงาน - บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พัฒนาหุ่นยนต์บังคับใต้น้ำ - บริษัท เควี อิเลคทรอนิกส์ จำกัด เตรียมลงทุนระบบการผลิตอัตโนมัติ โดยการลงทุนของ 5 บริษัท จะช่วยกระตุ้นให้เอกชนรายอื่นลงทุนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ และจูงใจให้ผู้ผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น ทั้งนี้ จากการสำรวจผู้ประกอบการไทย พบว่าบริษัทขนาดใหญ่มีความพร้อมปรับเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติใน 3 ปี บริษัทขนาดกลางต้องใช้เวลา 3-5 ปี และบริษัทขนาดเล็กต้องใช้เวลามากกว่า 5 ปี โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมไทย 85% ยังทำงานด้วยระบบแรงงานคน ส่วนอีก 10% เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องจักรกับการควบคุมเครื่องจักรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC) และที่เหลือ 5% เท่านั้นที่ใช้ระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทุกขั้นตอน สำหรับมาตรการเร่งด่วนที่ช่วยขับเคลื่อนคลัสเตอร์หุ่นยนต์ ประกอบด้วย 1. การสร้างความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรม (Demand) - มาตรการทางภาษี อาทิ การหักค่าใช้จ่ายหรือหักค่าเสื่อมในอัตราเร่ง/หักค่าเสื่อมเพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อซื้อระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ (ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ 40%) และหักค่าใช้จ่าย 2 เท่า สำหรับการอบรมบุคลากร - มาตรการทางการเงิน ซึ่งจะประสานสถาบันการเงินในการจัดสรรวงเงินสินเชื่อในการปรับปรุงกระบวนการผลิต - มาตรการ BOI สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี สัดส่วน 50% ของเงินลงทุน และยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร 2. การสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Supply) - มาตรการ BOI ยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ลดหย่อน 50% อีก 5 ปี - กองทุน Fund of Funds เพื่อลงทุนใน Venture Capital ลักษณะ Matching Fund - มาตรการทางเงิน อาทิ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ - มาตรการทางภาษี อาทิ การปรับโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต การยกเว้นอากรขาเข้ามาทำ R&D /ทดสอบ และหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าสำหรับการอบรมบุคลากร (ประชาชาติธุรกิจ, 5-8 พ.ค. 2559)
Related
more icon
  • ส่งออกชายแดน-ผ่านแดน 10 เดือนแรกปี 2564 ขยายตัว 37.4%

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเดือน ต.ค. 2564 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 32.1% เป็น 148,803 ล้านบาท เฉพาะการส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 82,068 ล้านบาท ขยายตัว 31.5% โดยไทยได้ดุลการค้า 15,333 ล้านบาท ...

    calendar icon09.12.2021
  • WHO ประกาศ Omicron เป็น COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่น่าวิตก

    เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า COVID-19 สายพันธุ์ใหม่มีชื่อว่า โอไมครอน (Omicron) และเป็นสายพันธุ์ที่ 5 ที่ WHO ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตก เพราะมีศักยภาพในการแพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพัน...

    calendar icon29.11.2021
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products