ข่าวเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางสิงคโปร์ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2558 ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore : MAS) ประกาศผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2558 โดยจะเดินหน้ามาตรการ Nominal Effective Exchange Rate Policy Band หรือการกำหนดช่วงความเคลื่อนไหวค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ให้อยู่ในระดับปานกลาง และชะลอการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สิงคโปร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม MAS ไม่ได้เปิดเผยกรอบตัวเลขที่กำหนดการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ภาคส่งออกของสิงคโปร์สามารถแข่งขันได้มากขึ้น หลังจากการส่งออกของสิงคโปร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ ด้วยสัดส่วนสูงถึง 15% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของสิงคโปร์ และอุปสงค์โลกที่ซบเซาต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 3 ปี 2558 ขยายตัว 0.1% (q-o-q) เทียบกับที่หดตัว 2.5% ในไตรมาส 2 ทำให้สิงค์โปร์สามารถรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ (ฺBloomberg, CNBC, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, 14-15 ต.ค. 2558)
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
Tag
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products