ข่าวเศรษฐกิจ

ปตท. จับมือองค์การเภสัชกรรมศึกษาการจัดตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็ง

ตามที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบสารออกฤทธิ์ทางยา (Active Pharmaceutical Ingredient: API)” ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2561 นั้น ปัจจุบัน ปตท. และ อภ. อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดของการก่อสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง และความเหมาะสมของพื้นที่ในการจัดตั้งโรงงาน โดย ปตท. คาดว่ามูลค่าการลงทุนจะไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าเริ่มผลิตยาได้เองในประเทศในปี 2568 จากปัจจุบันที่ต้องนำเข้า 100% เพราะยังไม่มีผู้ประกอบการในประเทศผลิตยารักษามะเร็ง เนื่องจากโรงงานจำเป็นต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง เพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้ ปตท. ยังมีแนวคิดจะต่อยอดจากความร่วมมือดังกล่าวโดยจะศึกษาการทำธุรกิจตัวแทนจำหน่ายยาในต่างประเทศ ซึ่งอาจทำควบคู่ไปกับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตยารักษามะเร็งให้กับ อภ. (กรุงเทพธุรกิจ, 20 พ.ย. 2562)

Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products