ข่าวเศรษฐกิจ

สรท. จี้การท่าเรือหาแนวทางช่วยลดค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการขนส่ง

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ส่งผลให้การขนส่งสินค้าทางอากาศลดจำนวนลง ขณะที่การขนส่งทางบกและทางน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาความแออัดที่ท่าเรือขนส่ง จนอาจเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการขนส่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาทิ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกไปยังท่าเรือปีนังมีความแออัดมากขึ้น ประกอบกับข้อจำกัดของท่าเรือน้ำลึกสงขลา เช่น ความลึกร่องน้ำ จำนวนเรือและตารางเรือที่ให้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ส่งออกที่ต้องการเลี่ยงปัญหาดังกล่าวโดยเปลี่ยนไปใช้เรือขนส่งชายฝั่งรับตู้สินค้าที่ท่าเรือในเขตจังหวัดภาคใต้แล้วนำไปบรรทุกเรือแม่ เพื่อส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบัง มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการยกตู้ซ้ำซ้อน จึงเสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยช่วยปรับลดค่าใช้จ่ายบางอย่างให้ผู้ประกอบการ อาทิ ค่ายกตู้สินค้า รวมถึงเร่งพัฒนาระบบการขอใบรับรอง/ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ (ประชาชาติธุรกิจ,16-19 เม.ย. 2563)

Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products