ข่าวเศรษฐกิจ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2563 ญี่ปุ่นได้ให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่ 1 เพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) ซึ่งเป็นการขยายความตกลง AJCEP ฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2552 ที่เคยครอบคลุมเฉพาะเรื่องการเปิดตลาดการค้าสินค้าเป็นหลัก ให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการเปิดตลาดภาคบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการลงทุนด้วย โดยญี่ปุ่นได้เปิดตลาดภาคบริการให้ไทยในสาขาที่ไทยสนใจและมีศักยภาพ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยถือหุ้นได้ 100% ในสาขาบริการ เช่น โฆษณา ร้านอาหาร จัดประชุม จัดทัวร์และนำเที่ยว สปา โรงแรม จัดเลี้ยง บริการด้านการแพทย์และทันตกรรม วิชาชีพพยาบาล และบริการคอลเซ็นเตอร์ รวมถึงบริการอื่นๆ เช่น บริการซักล้างทำความสะอาด บริการซักผ้า รีดผ้า บริการทำผมและเสริมสวย รวมถึงการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาหรือการเข้าไปทำงานในญี่ปุ่น ได้อนุญาตเป็นการชั่วคราวแก่ผู้ให้บริการ นักลงทุนและคู่สมรส รวมถึงบุตร จากอาเซียน เข้าไปให้บริการในกลุ่มสาขาและประเภทที่ระบุไว้ได้สูงสุดถึง 5 ปี ขณะที่ไทยได้เปิดตลาดให้ญี่ปุ่นในสาขาบริการด้านพยากรณ์อากาศและอุตุนิยมวิทยา บริการด้านการวิจัยและพัฒนา บริการล่ามและแปลเอกสาร บริการให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์และนักสถิติ โดยผู้ประกอบการญี่ปุ่นสามารถถือหุ้นได้ 70% ซึ่งคาดว่าจะช่วยยกมาตรฐานภาคบริการของไทยได้ ทั้งนี้ พิธีสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563 ระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศอาเซียนที่ให้สัตยาบันแล้ว ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ เมียนมา และ สปป.ลาว ส่วนประเทศอาเซียนที่เหลือจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อประเทศเหล่านี้ให้สัตยาบัน (ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, 19 มิ.ย. 2563)
-
กระทรวงคมนาคมเปิดนโยบายด้านการบิน
กระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) คาดว่าในปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าไทยประมาณ 5.1 ล้านคน ขณะที่การบินพลเรือนแห่งประเทศไทยคาดการณ์ไว้ 8 ล้านคน ส่วนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จ...
14.12.2021 -
depa คาดอุตสาหกรรม Big Data ในไทยในปี 2565 โต 0.08%
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เปิดเผยประมาณการมูลค่าอุตสาหกรรม Big Data ในไทยว่าในปี 2564 จะมีมูลค่า 13,728 ล้านบาท ขยายตัว 0.19% จากปี 2563 ขณะที่ปี 2565 จะมีมูลค่า 13,738 ล้านบาท ขยายตัว 0.08% เนื่องจากคาดว่าอ...
13.12.2021
-
เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ
แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...
08.01.2021 -
เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...
08.01.2018 -
สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม
สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...
13.04.2020