ข่าวเศรษฐกิจ

กรมการข้าวเร่งขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวใหม่ 12 สายพันธุ์

อธิบดีกรมการข้าวเปิดเผยว่า ในปี 2564 กรมฯ จะเร่งรัดการขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวใหม่ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการขึ้นทะเบียน 12 สายพันธุ์ เนื่องจากการวิจัยพันธุ์ข้าวถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด จึงไม่ควรใช้เวลาเกิน 5 ปี จากที่ผ่านมาต้องใช้เวลากว่า 8 ปีกว่าจะนำออกสู่ตลาด ซึ่งที่ผ่านมาการขึ้นทะเบียนอาจเกิดความล่าช้า เนื่องจากบางส่วนกังวลว่าเมื่อนำพันธุ์ข้าวที่วิจัยมาปลูกในแปลงจะเกิดการปะปน ซึ่งในระยะหลังพบว่ามีปริมาณข้าวที่ปะปนพันธุ์กันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณภาพข้าวลดลง และมีปริมาณผลผลิตต่อไร่น้อย ล่าสุดกรมฯ ได้หารือร่วมกับนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย และนายกสมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทางสมาคมได้เสนอให้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเหนียวคุณภาพดี เทียบเท่าข้าวเหนียว กข 6 ที่มีผลผลิตต่อไร่สูง (แต่ปัจจุบันปะปนกับพันธุ์อื่นจนพันธุ์ กข 6 หายไป) เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และเพื่อรองรับการใช้ข้าวเหนียวเชิงอุตสาหกรรมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น (www.prachachat.net, 4 มี.ค. 2564)

Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • เผยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทต่างชาติ

    แหล่งข่าวจากวงการโรงพยาบาลเอกชนเปิดเผยว่า ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต้องการสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 จากบริษัทผู้พัฒนาต่างชาติ (ที่นอกเหนือจากของ AstraZeneca อาทิ Moderna) เพื่อหวังจะนำวัคซีนดังกล่าวมาให้บริการแก่...

    calendar icon08.01.2021
  • เอกชนรุกลงทุนโรงพยาบาลใหม่

    สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งทยอยยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อขออนุญาตดำเนินโครงการ ทั้งโครงการใหม่และส่วนต่อขยาย ซึ่ง ...

    calendar icon08.01.2018
  • สมาคมผู้ผลิตไก่ฯ คงเป้าส่งออกไก่เนื้อในปี 2563 ที่ระดับเดิม

    สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยได้คงเป้าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2563 ที่ปริมาณรวม 9.8 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1.2 แสนล้านบาท แม้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในหลายประ...

    calendar icon13.04.2020
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products