เลียบรั้ว เลาะโลก

ว่าด้วยเรื่อง Global Recession กับความเห็นที่แตกต่าง

ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกจากนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักในปัจจุบันมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากโดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับ “ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย” หรือ “Global Recession” โดยหลายสำนัก อาทิ องค์การสหประชาชาติ (UN) และ Goldman Sachs มองว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะอันใกล้ ขณะที่บางสำนัก อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ Robert Shiller นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล กลับมองว่าภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ความคิดเห็นต่อภาวะ Global Recession ที่แตกต่างกันดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบันยังไม่มีนิยามหรือคำจำกัดความของ Global Recession ที่ชัดเจนซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน ทำให้มุมมองต่อ Global Recession ของนักเศรษฐศาสตร์แต่ละสำนักแตกต่างกัน  โดยหากพิจารณานิยามของ Global Recession ที่มีการพูดถึงกันในปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ 3 ทฤษฎีหลัก ได้แก่

  • เศรษฐกิจเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (Q-O-Q) หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน ถูกคิดขึ้นโดย Julius Shiskin นักเศรษฐศาสตร์ชาวสหรัฐฯ ในปี 2517 ซึ่งปัจจุบันถือเป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่นิยมใช้แพร่หลายที่สุด และมักเรียกภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามรูปแบบดังกล่าวว่า การถดถอยทางเทคนิค หรือ “Technical Recession” ซึ่งแม้ทฤษฎีดังกล่าวจะไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงภาวะ Global Recession ได้โดยตรง เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานใดจัดทำตัวเลข GDP โลกรายไตรมาสอย่างเป็นทางการ แต่ก็นิยมประเมิน Global Recession ในเบื้องต้นจาก GDP รายไตรมาสของ 3 ประเทศเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันกว่า 50% ของเศรษฐกิจโลก
    ซึ่งจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของทั้ง 3 ประเทศ พบว่ายังไม่มี GDP ประเทศใดหดตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2562 แต่เริ่มมีทิศทางชะลอลงบ้าง สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวแต่ยังไม่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อพิจารณาตามทฤษฎีดังกล่าว
  • ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจสำคัญในมิติต่างๆ หดตัวต่อเนื่องพร้อมกัน ถูกคิดขึ้นโดย National Bureau of Economic Research ของสหรัฐฯ โดยดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจถดถอย ได้แก่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยอดค้าปลีก และอัตราว่างงาน เป็นต้น ซึ่งหากดัชนีชี้วัดต่างๆ ดังกล่าวหดตัวพร้อมกัน เป็นระยะเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน จะถือว่าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจดังกล่าวของ สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น พบว่า ทั้ง สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น เริ่มมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สะท้อนถึงความเสี่ยงที่จะเกิด Global Recession ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

     

  • แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีทฤษฎีใดสามารถชี้ชัดถึงการเกิด Global Recession ได้ แต่ก็ถือเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ส่งออกในการนำมาใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้วางแผนและปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

    ผลผลิตต่อหัวประชากรของโลกหดตัว (World Per Capita Output) ถูกคิดและนำไปใช้เป็นเครื่องชี้ภาวะ Global Recession โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ World Per Capita Output ในปี 2562 และ 2563 ว่าจะขยายตัว 1% และ 2.4% ตามลำดับ สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม นิยามภาวะเศรษฐกิจถดถอยของ IMF ดังกล่าว ยังไม่เป็นที่นิยมอ้างอิงแพร่หลายนัก เนื่องจากการคำนวณ World Per Capita Output มีความซับซ้อนและยุ่งยาก
เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
  • วิกฤตฮ่องกง…ต้นตอสั่นคลอนสถานะการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

    ฮ่องกง ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย ทั้งในด้านการค้า การท่องเที่ยว และการเงิน อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยบั่นทอนที่รุมเร้ารอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ในฮ่องกงที่ยืดเยื้อมากว่า 6 เดือน รวมถึง...

    calendar icon03.12.2019
  • ส่องภาวะเศรษฐกิจโลกผ่านกระจก 3 เลนส์

    เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงกลายมาเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในช่วงเดือนที่ผ่านมา หลังกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2562 อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนมาอยู่ที่ 3....

    calendar icon21.05.2019
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products