New Frontier's RADAR
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ
สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนภายใต้ AFTA
ภาพรวมการส่งออกของไทยภายใต้ AFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่ามูลค่าส่งออกรวมจากไทยไปอาเซียน ส่วนหนึ่งคาดว่าเป็นเพราะสินค้าที่ส่งออกภายใต้สิทธิ์ FTA มักเป็นสินค้าที่เป็นส่วนประกอบของ
ห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับตลาดส่งออกที่มีการใช้สิทธิ์ AFTA สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกที่ใช้สิทธิ์ ได้แก่ ยานยนต์เพื่อขนส่งน้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน เครื่องปรับอากาศ น้ำตาลทราย เครื่องดื่มไม่เติมแก๊ส (อาทิ นม UHT และนมถั่วเหลือง) และน้ำมันปิโตรเลียม
สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอินเดียภายใต้ TIFTA และ AIFTA
การส่งออกของไทยไปอินเดียภายใต้สิทธิประโยชน์ทั้ง TIFTA และ AIFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวถึงราว 30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามการส่งออกโดยรวมของไทยไปอินเดียที่หดตัวราว 30% โดยในช่วงดังกล่าวอินเดีย (ตลาดส่งออกอันดับที่ 12 ของไทย) เป็นตลาดส่งออกที่หดตัวสูงที่สุดในกลุ่มตลาดส่งออก 20 อันดับแรกของไทย สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจของอินเดียได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากมีจำนวนผู้ติดเชื้อราว 8.4 ล้านคน สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่ใช้สิทธิ์ TIFTA และ AIFTA ได้แก่ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ตู้เย็นและส่วนประกอบ และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
ทั้งนี้ การจัดทำ FTA ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ย่อมส่งผลต่อผู้ประกอบการไทยแตกต่างกัน โดย FTA ที่จัดทำแบบทวิภาคีส่วนใหญ่จะมีเป้าหมายในการเพิ่มโอกาสเจาะตลาดจากกำแพงภาษีที่ลดต่ำลง ขณะที่ FTA ที่จัดทำแบบพหุภาคี อาทิ AEC มักก่อให้เกิดการแบ่งการผลิตและการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ จนอาจกลายเป็นห่วงโซ่การผลิตในกลุ่มสมาชิกพหุภาคีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การเจรจา FTA ก็หมายถึงการที่ไทยต้องลดภาษีให้ต่ำลงเพื่อเปิดตลาดให้คู่เจรจาได้ประโยชน์เช่นกัน ผู้ประกอบการจึงควรติดตามความคืบหน้าของการเจรจา FTA ของไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างโอกาสหรือหาทางลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังการบังคับใช้ FTA อาทิ กรณี CPTPP ที่ไทยอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ และกรณี FTA ไทยกับ EU ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและคาดว่าจะเริ่มต้นเจรจากันได้ในระยะต่อจากนี้ ตลอดจนการเจรจากับสหราชอาณาจักร และสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย
ที่เกี่ยวข้อง
-
New Frontier's RADAR เดือนมีนาคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามเดือน ม.ค. 2564 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามขยายตัวอย่างร้อนแรงตั้งแต่เริ่มต้นปี 2564 ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยมูล...
08.03.2021 -
New Frontier's RADAR เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมากับแนวโน้มการค้าการลงทุนของไทย เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 กองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศหลังการทำรัฐประหาร และมอบหมายให้รองประธานาธิบดีอู มินต์ ส่ว...
15.02.2021
-
New Frontier's RADAR เดือนมกราคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 ขยายตัว 1.6% และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7% ในปี 2564 ขณะที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรา...
13.01.2021 -
New Frontier’s RADAR เดือนมีนาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ก่อให้เกิดคำถามจากนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศถึงศักยภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไ...
01.04.2020 -
New Frontier’s RADAR เดือนพฤษภาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ มาตรการที่แต่ละประเทศใช้ในการต่อสู้กับวิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทั้งมาตรการ Lockdown และ Social Distancing ที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดให้บริการหรือหยุดผลิตชั่วคราว กระทบ...
05.05.2020