New Frontier's RADAR
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมากับแนวโน้มการค้าการลงทุนของไทย
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 กองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศหลังการทำรัฐประหาร และมอบหมายให้รองประธานาธิบดีอู มินต์ ส่วย ซึ่งเป็นรองประธานาธิบดีสายทหาร ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ ยังประกาศภาวะฉุกเฉินในเมียนมาเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบต่อการค้าการลงทุนของไทยในระยะข้างหน้า
ในระยะสั้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกและนำเข้าของไทยไม่มากนัก ทั้งนี้ แม้จะมีการปิดด่านชายแดนในวันที่ 1 ก.พ. 2564 แต่เป็นการปิดด่านเพียงชั่วคราว ขณะที่ชาวเมียนมามีการกักตุนสินค้าจากความตระหนกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้คาดว่าสินค้าไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจะได้อานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในระยะกลาง-ยาว คาดว่าการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบ ดังนี้
- ความต้องการซื้อสินค้าและบริการชะลอตัวลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวซ้ำเติมเศรษฐกิจของเมียนมานอกเหนือจากปัญหา COVID-19 จึงบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นทำให้ล่าสุด Fitch Solutions Country Risk & Industry Research ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 เหลือขยายตัว 2% จากคาดการณ์เดิมที่ 6%
- ความต้องการวัสดุก่อสร้างและสินค้าขั้นกลางมีแนวโน้มชะลอตัว จากการที่นักลงทุนรวมถึงผู้ผลิตบางส่วนในเมียนมาชะลอดูสถานการณ์ ส่งผลต่อเนื่องมายังความต้องการสินค้าขั้นกลาง เช่น เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์เหล็ก รวมถึงสินค้าในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง
แนวโน้มการลงทุนของไทยในเมียนมา
มูลค่าการลงทุนสะสมของไทยในเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากระดับ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ไตรมาส 4 ปี 2560 มาอยู่ที่ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ไตรมาส 3 ปี 2563 ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวจะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนของไทยในเมียนมา ในแต่ละกรณี ดังนี้
- โครงการที่ลงทุนแล้วส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่เคยพบว่ารัฐบาลทหารเมียนมาดำเนินการเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานหรือยึดกิจการเป็นของรัฐ อีกทั้งรัฐบาลทหารเข้าใจความสำคัญของการลงทุนจากต่างประเทศที่มีต่อเศรษฐกิจเมียนมา
เป็นอย่างดี สังเกตได้จากโครงการลงทุนจากต่างประเทศที่ขยายตัวมาตั้งแต่ก่อนหน้ารัฐบาลของนางออง ซาน ซูจี ส่งผลให้ความกังวลของนักลงทุนจากความเสี่ยงดังกล่าวมีจำกัด - โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เตรียมลงทุนมีแนวโน้มที่จะชะลอการดำเนินการก่อสร้างเพื่อรอดูความชัดเจนบางประการ โดยเฉพาะแนวนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งหากรัฐบาลชุดใหม่สามารถให้ความมั่นใจต่อนักลงทุน รวมถึงมีเงื่อนไขการลงทุนที่จูงใจ โครงการลงทุนก็พร้อมเดินหน้าต่อไป
โครงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และ EU มีแนวโน้มชะลอการลงทุนออกไป เนื่องจากความกังวลต่อมาตรการคว่ำบาตรที่สหรัฐฯ และ EU อาจใช้กับเมียนมาในอนาคต ทั้งนี้ ตัวอย่างโครงการลงทุนในกลุ่มนี้ เช่น การตั้งโรงงาน และโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่รองรับอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อส่งออก
ที่เกี่ยวข้อง
-
New Frontier's RADAR เดือนมีนาคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามเดือน ม.ค. 2564 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามขยายตัวอย่างร้อนแรงตั้งแต่เริ่มต้นปี 2564 ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน โดยมูล...
08.03.2021 -
New Frontier's RADAR เดือนตุลาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ INDIA in Comparison อินเดียถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า BRICS ร่วมกับประเทศอื่น ได้แก่ บราซิล รัสเซีย จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบสถานการณ์ COVID-19 และภา...
08.10.2020
-
New Frontier's RADAR เดือนมกราคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 ขยายตัว 1.6% และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7% ในปี 2564 ขณะที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรา...
13.01.2021 -
New Frontier’s RADAR เดือนมีนาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ก่อให้เกิดคำถามจากนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศถึงศักยภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไ...
01.04.2020 -
New Frontier’s RADAR เดือนพฤษภาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ มาตรการที่แต่ละประเทศใช้ในการต่อสู้กับวิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทั้งมาตรการ Lockdown และ Social Distancing ที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดให้บริการหรือหยุดผลิตชั่วคราว กระทบ...
05.05.2020