เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ

ส่องทิศทาง Digital-only Bank...คลื่นลูกใหม่ในวงการธนาคาร

การทำธุรกรรมทางการเงินในปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบและสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ธุรกิจทั่วโลก โดยเฉพาะหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจก็ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อให้ทันกับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่นเดียวกับภาครัฐที่มักสนับสนุนโลกดิจิทัลเพราะเป็นกลไกสำคัญในการลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสให้ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการสำคัญที่มีส่วนในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ Digital-only Bank เป็นหนึ่งในคลื่นดิจิทัลลูกใหม่ที่หลายประเทศเตรียมออกกฎระเบียบเฉพาะในการดูแลการจัดตั้ง Digital-only Bank เนื่องจากเล็งเห็นว่า Digital-only Bank เป็นตัวเลือกใหม่ที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้บริการได้ดีกว่าธนาคารรูปแบบเดิม (Traditional Bank)

Digital-only Bank…ตอบโจทย์บริการทางการเงินด้วยเทคโนโลยียุคดิจิทัล

Digital-only Bank เป็นธนาคารที่ให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นหลัก และส่วนใหญ่ไม่มีสาขาจริงให้บริการ ซึ่งแตกต่างจากธนาคารรูปแบบเดิมที่ให้บริการผ่านสาขาของธนาคารเป็นหลัก และมีช่องทางให้บริการเสริม เช่น ATM และ Internet Banking ปัจจุบัน Digital-only Bank กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้บริการในหลายประเทศทั่วโลกทั้งสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เยอรมนี ตลอดจนประเทศกำลังพัฒนาอย่างแอฟริกาใต้ บราซิล และจีน เนื่องจาก Digital-only Bank ให้บริการได้ใกล้เคียงกับธนาคารแบบเดิม เช่น การฝาก-ถอนเงิน การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ และการกู้เงิน แต่เหนือกว่าที่สามารถตอบโจทย์บริการทางการเงินด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่า ทั้งการให้บริการที่รวดเร็วแบบ Real-time ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จูงใจทั้งด้านอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม รวมถึงเงื่อนไขการให้บริการและการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่ยืดหยุ่น ซึ่งศักยภาพดังกล่าวเป็นผลจากการใช้ระบบการทำงานบนเทคโนโลยียุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data บนระบบ Cloud Computing และการใช้เทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) ทำให้สามารถให้บริการด้วยต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำลง อีกทั้งยังทำให้สามารถออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบเฉพาะราย (Taylor-made) ได้ดีกว่าธนาคารรูปแบบเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นในการให้บริการลูกค้ารายย่อย และ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีจำนวนมากและมีความหลากหลายสูง

เอเชียแปซิฟิก... ภูมิภาคที่พร้อมเปิดรับบริการ Digital-only Bank

รายงาน Fintech and Digital Banking 2025 ที่จัดทำโดย IDC Financial Insights สำรวจพบว่าประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกราว 63% ของกลุ่มตัวอย่างพร้อมเปลี่ยนมาใช้บริการของ Digital-only Bank รวมถึงบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ภายใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งทำให้คาดว่าจะมี Digital-only Bank รายใหม่เกิดขึ้นอีกกว่า 100 ราย ทั้งนี้ กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่ถือได้ว่ามี Digital-only Bank เกิดขึ้นและมีการพัฒนาไปแล้วค่อนข้างมาก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน และออสเตรเลีย สำหรับประเทศในอาเซียน มีทั้งการตั้ง Digital-only Bank และการขยายการให้บริการทางการเงินแบบดิจิทัลจากธนาคารพาณิชย์เดิม โดยในหลายประเทศเริ่มมีการร่างกฎหมายการจัดตั้ง Digital-only Bank โดยเฉพาะ

เอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง
Related
more icon
Most Viewed
more icon
  • ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างแรงงานในเวียดนาม

    ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คือ การเป็นประเทศที่มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ทำให้มีแรงงานจำนวนมากที่พร้อมทำงาน ประกอบกับมีค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ เวียดนา...

    calendar icon01.04.2019
  • เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว

    เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...

    calendar icon01.07.2019
  • Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว

    การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...

    calendar icon01.04.2019
link อื่นๆ
  • Relate Preview
  • Relate Preview
Financial Products