New Frontier's RADAR
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ
กัมพูชา
-
EU ตัดสิทธิ์ Everything But Arms (EBA) สินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าบางรายการ รวมทั้งสินค้าสำหรับการเดินทาง (Travel Goods) ทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรวมกันราว 1 ใน 5 ของมูลค่าส่งออกของกัมพูชาไป EU
-
Moody’s คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาปี 2563 จะขยายตัว 5.5% ชะลอลงจาก 7% ในปี 2562 โดยมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงอย่างการระบาดของ COVID-19 ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ รวมถึงผลกระทบจากการที่ EU ตัดสิทธิ์ EBA บางส่วนของกัมพูชา [อ้างอิง]
-
บริษัท Precise Electric Manufacturing ของไทยเตรียมลงทุนโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าใน Krakor District จ.โพธิสัต [อ้างอิง]
ประเด็นที่น่าสนใจ : การตัดสิทธิ์ EBA ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของกัมพูชาค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากสินค้าที่ถูกตัดสิทธิ์มีมูลค่าถึงราว 8% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา ขณะที่ผู้ประกอบการไทยที่ไปผลิตสินค้าในกลุ่มที่ถูกตัดสิทธิ์ EBA ในกัมพูชาก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยแนวทางการปรับตัวจำเป็นต้องหาตลาดอื่นหรืออาจพิจารณากระจายฐานการลงทุนในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะเวียดนาม รายละเอียดเพิ่มเติม [บทวิเคราะห์ของฝ่ายวิจัยธุรกิจ]
สปป.ลาว
-
สปป.ลาว ประกาศใช้กฎหมายภาษีเงินได้ฉบับใหม่ โดยมีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 0-20% จากเดิมที่ 0-24% ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีการขยายช่วงรายได้พึงประเมินเป็น 1.3 ล้าน - 65 ล้านกีบต่อเดือน จาก 1 ล้าน - 40 ล้านกีบต่อเดือน [อ้างอิง]
เมียนมา
-
ศาลโลกที่กรุงเฮกออกคำสั่งให้เมียนมางดการกระทำที่ส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัยของชาวโรฮิงญาระหว่างที่ศาลโลกยังพิจารณาคดีเมียนมาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา โดยเมียนมาต้องเสนอรายงานต่อศาลภายในเวลา 4 เดือน หลังจากนั้นต้องรายงานต่อเนื่องทุกๆ 6 เดือน [อ้างอิง]
-
ภาคธุรกิจนำเข้าส่งออกในเมียนมาเผชิญอุปสรรคในการดำเนินงานจากกฎระเบียบที่อนุญาตให้ธนาคารท้องถิ่นเมียนมาโอนเงินตราต่างประเทศเข้าหรือออกเมียนมาได้เมื่อมีใบ B/L (Bill of Lading) เท่านั้น
ประเด็นที่น่าสนใจ : แม้ศาลโลกยังไม่ได้มีมาตรการที่เป็นบทลงโทษต่อเมียนมา จึงยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อเมียนมา แต่ต้องติดตามท่าทีของชาติตะวันตก โดยเฉพาะ EU ว่าจะใช้สถานการณ์นี้เป็นข้ออ้างในการพิจารณาตัดสิทธิ์ EBA ของเมียนมาหรือไม่ หลังจากล่าสุด EU ได้ตัดสิทธิ์ EBA บางส่วนของกัมพูชา โดยอ้างถึงการลิดรอนสิทธิ์ทางการเมืองของพรรคฝ่ายตรงข้ามนายกรัฐมนตรีฮุนเซน
เวียดนาม
-
EU อนุมัติข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม หรือ EVFTA โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ค. 2563 ทั้งนี้ EVFTA ถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมมากที่สุดของ EU ที่ทำไว้กับประเทศกำลังพัฒนา โดย EVFTA จะมีการลดอัตราภาษีศุลกากรถึง 99% ของรายการสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศ [อ้างอิง]
-
เวียดนามอนุมัติแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจ Van Don ในจังหวัด Quang Ninh ทางภาคเหนือ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลในระดับ High-end ภายในปี 2583 [อ้างอิง]
-
เวียดนามออกกฎระเบียบการนำเข้ารถยนต์ฉบับใหม่ภายใต้ Decree 17/2020 ซึ่งเป็นการผ่อนคลายข้อจำกัดในการนำเข้ารถยนต์ โดยผู้นำเข้ารถยนต์ในประเทศไม่ต้องขอเอกสารรับรองประเภทยานพาหนะ (VTA) จากหน่วยงานภายในประเทศผู้ส่งออก [อ้างอิง]
ประเด็นที่น่าสนใจ : นโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของเวียดนามเป็นที่น่าติดตาม โดยในปี 2561 ซึ่งเวียดนามต้องลดภาษีนำเข้ารถยนต์ (Completely Built Unit : CBU) เหลือ 0% ภายใต้ AFTA ทำให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์บางส่วนเตรียมลดการผลิตรถยนต์บางรุ่นในเวียดนามและหันไปนำเข้าจากฐานการผลิตในประเทศอื่นแทน แต่ในปีดังกล่าวเวียดนามได้ออกกฎระเบียบ Decree 116 ที่กำหนดให้ผู้นำเข้ารถยนต์ต้องขอ VTA และต้องมีการทดสอบรถยนต์เมื่อส่งถึงเวียดนาม ทำให้การนำเข้ารถยนต์เกิดความล่าช้าและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงความต้องการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศและก่อให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบต่อการส่งออกรถยนต์ของไทยไปเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเวียดนามได้ผ่อนคลายกฎระเบียบดังกล่าวลง รวมถึงมีการออกกฎระเบียบใหม่ Decree 17/2020 ซึ่งผ่อนคลายกฎระเบียบเดิม จึงมองได้ว่าเวียดนามอาจเปลี่ยนรูปแบบในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์จากการปกป้องอุตสาหกรรมของตนด้วยการกีดกันการนำเข้า เป็นการปรับเป้าหมายการพัฒนาไปสู่การผลิตรถยนต์สมัยใหม่แทน อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากมีความเป็นไปได้มากกว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์แบบเก่าที่ต้องมีฐานห่วงโซ่การผลิตที่แข็งแกร่งในประเทศ
หมายเหตุ : ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศรวบรวมทั้งจากแหล่งข่าวต่างประเทศและแหล่งข่าวท้องถิ่น ไปจนถึงแหล่งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและที่ปรึกษาทางกฎหมาย
ที่มา : - www.phnompenhpost.com
- jclao.com
- www.thaipost.net
- www.mmtimes.com
- vietnamnews.vn
- en.thesaigontimes.vn
ที่เกี่ยวข้อง
-
New Frontier's RADAR เดือนกุมภาพันธ์ 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมากับแนวโน้มการค้าการลงทุนของไทย เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 กองทัพเมียนมาได้เข้าควบคุมสถานการณ์ในประเทศหลังการทำรัฐประหาร และมอบหมายให้รองประธานาธิบดีอู มินต์ ส่ว...
15.02.2021 -
New Frontier's RADAR เดือนพฤศจิกายน 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ สถานการณ์การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนภายใต้ AFTA ภาพรวมการส่งออกของไทยภายใต้ AFTA ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 หดตัว 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงมากกว่ามูลค่าส่งออกรวมจากไทย...
12.11.2020
-
New Frontier's RADAR เดือนมกราคม 2564
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 IMF คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามปี 2563 ขยายตัว 1.6% และจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.7% ในปี 2564 ขณะที่ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนามรา...
13.01.2021 -
New Frontier’s RADAR เดือนมีนาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ขยายวงกว้างไปทั่วโลก ก่อให้เกิดคำถามจากนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศถึงศักยภาพในการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศที่เป็นตลาดใหม่ของไ...
01.04.2020 -
New Frontier’s RADAR เดือนพฤษภาคม 2563
ประเด็นเด่นในแต่ละประเทศ มาตรการที่แต่ละประเทศใช้ในการต่อสู้กับวิกฤต COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทั้งมาตรการ Lockdown และ Social Distancing ที่ทำให้หลายธุรกิจต้องปิดให้บริการหรือหยุดผลิตชั่วคราว กระทบ...
05.05.2020