เกร็ดการเงินระหว่างประเทศ
รัฐบาลเมียนมายังคงทยอยปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบสำคัญของประเทศเพื่อเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2562 รัฐบาลได้ประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ (Consumer Protection Law) เพื่อทดแทนกฎหมายฉบับเดิมปี 2557 โดยเนื้อหาในกฎหมายฉบับใหม่มีทั้งหมด 25 มาตรา มากกว่าฉบับเดิมที่มีเพียง 12 มาตรา ซึ่งจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายในประเด็นต่างๆ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาทิ สิทธิ์ของผู้บริโภค ความปลอดภัยของผู้บริโภค บทบาทของภาคธุรกิจ และบทบาทของภาครัฐ ไปจนถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับฉลากสินค้าและการรับประกันคุณภาพสินค้า ทั้งนี้ สำหรับข้อกำหนดเกี่ยวกับฉลากสินค้าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยที่จำหน่ายสินค้าในตลาดเมียนมาต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่กำหนดให้ข้อมูลส่วนหนึ่งในฉลากต้องเป็นภาษาเมียนมา โดยจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 15 มีนาคม 2563 หรือมีระยะเวลาให้ผู้ประกอบการปรับตัวอีกหนึ่งปีหลังจากประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่
นอกจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้า การรับประกันสินค้าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่มีข้อกำหนดให้ต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนในการรับประกันสินค้า อาทิ มาตรฐานของสินค้า และการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสินค้า ความปลอดภัยของสินค้า ชิ้นส่วนสำรอง การรับซ่อมสินค้า และการเปลี่ยนสินค้า โดยผู้บริโภคหรือผู้ใช้สินค้ามีสิทธิ์ในการเปลี่ยน ขอคืนเงิน หรือเรียกร้องเงินชดเชย ในกรณีสินค้าได้รับความเสียหายหรือไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลเมียนมายังได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการกิจการผู้บริโภคระดับประเทศเพื่อกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมาย อีกทั้งยังได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการระดับท้องถิ่นในแต่ละรัฐ/ภาคเพื่อเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ดังนั้น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่จะช่วยยกระดับมาตรฐานสินค้าที่จำหน่ายในเมียนมา
ทั้งนี้ สำหรับผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยจากกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคฉบับใหม่ของเมียนมา คาดว่าผู้ประกอบการไทยจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาเมียนมา หรือการใช้วิธีติดสติกเกอร์ฉลากภาษาเมียนมาเพิ่มเติมลงในบรรจุภัณฑ์เดิม ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรเตรียมการแต่เนิ่นๆ และควรจะมีการเจรจากับผู้นำเข้าหรือผู้จัดจำหน่ายในเมียนมาให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ดูแลจัดการเกี่ยวกับฉลากภาษาเมียนมาดังกล่าว เนื่องจากการส่งออกสินค้าส่วนหนึ่งจะมีการบรรจุหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ใหม่ (Repackaging) ในประเทศปลายทาง นอกจากนี้ ควรเพิ่มความระมัดระวังกรณีที่เจ้าของสินค้าไม่ได้จำหน่ายสินค้าไปเมียนมาเองโดยตรง แต่เป็นการนำเข้าไปเองโดยพ่อค้าคนกลางตามแนวชายแดน ทำให้ไม่มีผู้รับผิดชอบในการติดฉลากภาษาเมียนมา ก็อาจทำให้เจ้าของสินค้าเผชิญกับปัญหายอดจำหน่ายสินค้าโดยรวมลดลง
ที่เกี่ยวข้อง
-
รู้จักภาษีการค้าเมียนมาผ่าน Union Tax Law 2019 ฉบับปรับปรุง
เมียนมายังไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่มีการเก็บภาษีการค้า (Commercial Tax) กับสินค้าและบริการในประเทศ ผู้ประกอบการที่เข้าไปค้าขายหรือลงทุนในเมียนมาจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจระบบภาษีดังกล่าว ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ ...
30.12.2019 -
เตรียมความพร้อมก่อนเมียนมาบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่
กฎหมายเครื่องหมายการค้า (Trademark Law) เป็นหนึ่งในกฎหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจ หากคิดจะดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นเสมือนเกราะป้องกันที่ช่วยผู้ประกอบการลดความเสี่ย...
01.11.2019
-
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างแรงงานในเวียดนาม
ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) คือ การเป็นประเทศที่มีตลาดแรงงานขนาดใหญ่ ทำให้มีแรงงานจำนวนมากที่พร้อมทำงาน ประกอบกับมีค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างต่ำ เวียดนา...
01.04.2019 -
เอกสารสำคัญที่ควรรู้ก่อนลงทุนใน สปป.ลาว
เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศ การปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตลงทุนเป็นเสมือนหน้าด่านที่จะสื่อให้เห็นถึงความตั้งใจในการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาให้ละเอียดและทำความเข...
01.07.2019 -
Q&A ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับการหาพื้นที่ลงทุนใน สปป.ลาว
การหาพื้นที่เพื่อตั้งกิจการนับเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญของการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องที่ดินที่แตกต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่ใน สปป.ลาว ที่เป็นตลาดบ้านใกล้เรือนเค...
01.04.2019